คู่มือการรับสัญญาณดิจิตอลทีวีโทรทัศน์
ใครที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับดิจิตอลทีวีอยู่ เราได้รวบรวมมาให้ท่านได้ทราบข้อมูลกันแล้ว ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบดิจิตอลทีวี ทีวียุคใหม่ของไทยเรา
สารบัญคู่มือการรับสัญญาณระบบดิจิตอลทีวี
บทนำเรื่อง
การเปลี่ยนไปรับชมดิจิตอลทีวี หรือ โทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล นั้นเป็นการเปลี่ยนระบบการรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งแต่เดิมประเทศไทยมีการออกอากาศโทรทัศน์เฉพาะในระบบแอนะล็อก และปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ซึ่งนอกจากเป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังเป็นไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และพันธกรณีที่มีต่อประชาคมโลกด้วย คล้ายกับเมื่อมีการเปลี่ยนจากโทรทัศน์ขาวดำเป็นโทรทัศน์สี หรือเปลี่ยนจากโทรศัพท์บ้านที่เป็นระบบหมุนมาเป็นระบบปุ่มกด
การเปลี่ยนมาเป็นโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบทีวีดิจิตอล จะเป็นการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการใช้พลังงานเมื่อเทียบกับแบบแอนะล็อก เป็นระบบที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ให้ภาพและเสียงที่มีความคมชัดมากถึง 48 ช่อง (เมื่อมีการอนุญาตให้บริการครบถ้วน) หากรับสัญญาณอย่างถูกวิธี ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) จัดทำคู่มือคู่นี้ เพื่อให้ข้อมูลและข้อแนะนำในเบื้องต้นแก่ประชาชนในการรับสัญญาณดิจิตอลทีวี…ดูดีทุกบ้าน
เริ่มต้น..เตรียมตัวรับสัญญาณดิจิตออลทีวี
การเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์จากระบบแอนะล็อกไปเป็นระบบดิจิตอลนั้น เป็นการเปลี่ยนทั้งด้านส่งสัญญาณ และด้านรับสัญญาณ ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินก็มีการปรับตัว ติดตั้งอุปกรณ์ใหม่เพื่อให้สามารถออกอากาศในระบบดิจิตอลได้ ส่วนด้านผู้รับ หรือผู้ชมโทรทัศน์ก็จะต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งผู้ชมอาจเลือกวิธีการรับชมได้หลายรูปแบบ
1.รับชมผ่านระบบดาวเทียม หรือเคเบิลทีวี
ทางเลือกนี้ไม่ยาก เพราะหากรับชมโทรทัศน์ดาวเทียม หรือ เคเบิลอยู่แล้ว โดยทั่วไปจะสามารถรับชมช่องรายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลได้ทันที ผ่านระบบดาวเทียม หรือเคเบิลที่รับชมอยู่ในปัจจุบัน แต่จะมีเพียง 36 ช่อง (ช่องบริการสาธารณะ และช่องธุรกิจ) เท่านั้น ซึ่งเป็นกลไกตามกฎหมาย หรือเป็นที่รู้จักกันว่า กฎ Must Carry (อาจมีการยกเว้นในบางกรณี ควรสอบถามรายละเอียดจากผู้ให้บริการก่อน)
2.รับชมรายการโดยตรงจากสายอากาศภาคพื้นดิน
ทางเลือกนี้ผู้ชมจะต้องปรับตัวกันสักหน่อย คือ ต้องมีการตรวจสอบระบบสายอากาศกับเครื่องรับโทรทัศน์ว่ารองรับได้หรือไม่ แต่จะเป็นทางเลือกที่จะสามารถรับชมช่องรายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลได้ครบถ้วนทั้ง 48 ช่อง (เมื่อมีการอนุญาตให้บริการครบถ้วน) และไม่ผูกติดกับเงื่อนไขของกฎหมายหากมีการปรับเปลี่ยนกฎ Must Carry ในอนาคต
หมายเลขช่องรายการดิจิตอล
กรณี “รับชมช่องรายการโดยตรงจากสายอากาศภาคพื้นดิน”
ช่องที่ 1-12 ช่องบริการสาธารณะ
ประกอบไปด้วยช่องบริการข่าวสารสารประโยชน์ต่อสาธารณะ ในด้านต่างๆ ปัจจุบันมีการออกอากาศ 3 ช่องรายการ โดยเป็นการอนุญาตให้ออกอากาศคู่ขนานไปกับช่องรายการในระบบแอนะล็อก คือ ช่อง 1 สถานีวิทยุโทรทัศน์กอพทัพบก (ช่อง 5 เดิมในระบบแอนะล็อก) ช่อง 2 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11 เดิมในระบบแอนะล็อก)และช่อง 3 ไทยพีบีเอส (ช่องไทยพีบีเอส เดิมเป็นระบบแอนะล็อก)
ช่องที่ 13-36 ช่องรายการธุรกิจ
ประกอบไปด้วยช่องที่ 13-15 เป็นช่องรายการเด็ก เยาวชน และครบครัว ช่องที่ 16-22 เป็นช่องรายการข่าว และช่อง 23-26 เป็นช่องรายการบันเทิง
ช่องที่ 37-48 ช่องรายการบริการชุมชน
(ปัจจุบันไม่มีการออกอากาศ เนื่องจากยังไม่มีการอนุญาตให้บริการ)
กรณี”รับชมช่องรายการผ่านระบบดาวเทียม หรือเคเบิลทีวี”
หมายเลขช่องรายการดิจิตอลทีวี ที่รับชมผ่านระบบดาวเทียม หรือเคเบิลทีวี จะเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยปัจจุบัน กำหนดให้นำช่องรายการของดิจิตองทีวี เฉพาะช่องที่ 1-36 (ไม่รวมช่องรายการประเภทบริการชุมชน) ไปส่งผ่านระบบดาวเทียม หรือเคเบิลทีวี ที่ช่อง 11-46 หรือ เป็นการขยับจากช่องดิจิตอลทีวีไป 10 ช่อง นั่นเอง
อุปกรณ์ที่สำคัญในการรับสัญญาณดิจิตอลทีวี
กรณี ”รับชมช่องรายการโดยตรงจากสายอากาศภาคพื้นดิน”
กล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี หรือ Set-Top-Box
เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณจากระบบดิจิตอลเป็นสัญญาณภาพและเสียง แล้วต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์แอนะล็อก เพื่อให้สามารถรับชมช่องรายการในระบบดิจิตอลได้ โดยไม่ต้องเป็นเครื่องรับโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล
Set-Top-Box จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงาน กสทช.โดยสังเกตจากสติ๊กเกอร์ครุฑที่ติดบนอุปกรณ์
เป็นอุปกรณืรับคลื่นความถี่วิทยุของดิจิตอลทีวี ซึ่งออกอากาศที่ช่องความถี่วิทยุย่าน UTF
สายอากาศมีทั้งชนิดติดตั้งภายในอาคาร และภายนอกอาคาร โดยจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพการรับสัญญาณในพื้นที่ต่างๆ
เป็นเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีเพียงภาครับสัญญาณ หรือจูนเนอร์ระบบแอนะล็อกเท่านั้น ซึ่งมีทั้งแบบจอตู้(CRT) หรือจอแบน (Plasma LCD LED)
เครื่องรับโทรทัศน์ดิจิตอล (iDTV)
เป็นเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ ที่มีภาครับสัญญาณหรือจูนเนอร์ดิจิตอลด้วย และจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงาน กสทช. โดยสังเกตสติ๊กเกอร์ครุฑที่ด้านหลังเครื่องรับหรือที่บรรจุภัณฑ์
นอกจากนี้ยังมีสายนำสัญญาณ (RG6) สำหรับต่อสายสัญญารเพื่อเชื่อมสัญญาณมายังกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี (Set-Top-Box) หรือเครื่องรับโทรทัศน์ดิจิตอล
การรับชมโดยตรงจากสายอากาศภาคพื้นดิน
1.เริ่มต้นจะต้องตรวจสอบด้านสัญญาณก่อน เพื่อให้รู้ข้อมูลว่า
-เราอยู่ในพื้นที่ให้บริการดิจิตอลทีวีหรือไม่
-ห่างจากสถานีส่งสัญญาณเท่าไหร่ กี่กิโลเมตร
-สถานีส่งสัญญาณตั้งอยู่ในทิศทางใด
โดยสามารถตรวจสอบด้วยตนเองจาก
Mobile Application (Android และ iOS):DTV Service Area หรือ
Web site:dtvservice.nbtc.go.th
หรือ โทรศัพท์สอบถามที่
Call Center ของ สำนักงาน กสทช. โทร 1200 หรือ
Call Center ของ ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ดังนี้
กรณี ไม่อยู่ในพื้นที่ให้บริการ หรือ ต้องรอการขยายโครงข่ายเพิ่มเติม สามารถให้รายละเอียดตำแหน่งที่อยู่ หรือรหัสประจำบ้าน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบสำหรับการพิจารณาวางแผนเกี่ยวกับโครงข่ายโทรทัศน์ต่อไป โดยสามารถให้ข้อมูลได้ที่ Call Center ของสำนักงาน กสทช. โทร 1200
2.การตรวจสอบด้านรับสัญญาณ
2.1 ตรวจสอบเครื่องรับโทรทัศน์ว่าเครื่องรับสัญญานเป็นแบบใด
ก.เครื่องรับโทรทัศน์แอนะล็อก จะต้องใช้คู่กับ กล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี (Set-Top-Box)
กล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี (Set-Top-Box)ตามมาตรฐาน DVB-T2
เป็นเครื่องรับโทรทัศน์ในแบบเก่า ที่มีภาครับสัญญาณเฉพาะแอนะล็อกเท่านั้น ซึ่งมีทั้งแบบจอตู้(CRT) และโทรทัศน์จอแบน (Plasma จอLCD หรือ LED) ที่สำคัญอย่างน้อยต้องมีช่องต่อแบบ AV หรือ Video ที่เป็นหัวต่อแบบ RCA ซึ่งปกติเป็นสายที่มีหัวต่อสามสี คือสายสีเหลืองที่เป็นสายสัญญาณภาพ และสายสีขาวและสายสีแดงที่เป็นสายสัญญาณเสียง เพื่อต่อเข้ากับกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี
กล่องรับสัญญารดิจิตอลทีวี ต้องเป็นกล่องสัญญาณโทรทัศน์ที่ได้รับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ตามมาตรฐาน DVB-T2 และจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงาน กสทช. โดยสังเกตจากสติ๊กเกอร์ครุฑที่ติดบนอุปกรณ์
ข.เครื่องรับโทรทัศน์ดิจิตอล
เป็นเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ หรือเป็นระบบ iDTV คือมีภาครับสัญญาณ หรือจูนเนอร์ที่รับรองสัญญาณดิจิตอล ซึ่งปกติเครื่องรับดิจิตอลจะมีภาครับทั้งแบบดิจิตอลและแบบแอนะล็อก ทำให้สามารถรับชมช่องรายการในระบบแอนะล็อกเดิม และในระบบดิจิตอลได้ (แต่ต้องมีสายสัญญาณที่รับสัญญาณทั้ง 2 ระบบ)
เครื่องรับโทรทัศน์ดิจิตอล จะต้องรองรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ตามมาตรฐาน DVB-T2 และจะต้องได้รับมาตรฐานจากสำนักงาน กสทช. โดยสังเกตจากสติ๊กเกอร์ครุฑที่ด้านหลังเครื่องรับหรือที่บรรจุภัณฑ์
2.2 ตรวจสอบสายอากาศ
ก. กรณีมีสายอากาศรับสัญญาณโทรทัศภาคพื้นดินในระบบแอนะล็อกเดิมอยู่
ต้องตรวจสอบว่าเป็นสายอากาศที่รองรับสัญญาณที่ความถี่ย่าน UTF ช่อง 21-69 หรืออย่างน้องที่ช่อง 26-60 หรือ
สังเกตว่าสามารถรบชมช่องรายการไทยพีบีเอสได้หรือไม่ หากได้ อาจสามารถรับสัญญาณดิจิตอลทีวีได้ แต่บางกรณีอาจรับช่องสัญญาณได้ไม่ครบถ้วน ซึ่งอาจต้องหาสายอากาศใหม่
ไทยพีบีเอส ออกอากาศในระบบแอนะล็อกที่ย่านความถี่ UTF เหมือนดิจิตอลทีวี แต่เฉพาะช่องความถี่ที่ 27-51 เทียบกับการออกอากาศของดิจิตอลทีวี ที่มาตรฐานด้านรับสัญญาณกำหนดไว้ที่ช่อง 21-69 (ปัจจุบันที่ออกอากาศในช่องที่ 26-60) จะเห็นได้ว่าสายอากาศเดิมที่รองรับการออกอากาศของไทยพีบีเอสในระบบแอนะล็อก อาจรองรับช่องความถี่ได้น้อยกว่า โดยเฉพาะที่ช่องความถี่สูง ทำให้สายอากาศเดิมอาจรับสัญญาณดิจิตอลทีวีได้ไม่ครบทุกช่อง
ในกรณีนี้ ถ้ารับสัญญาณดิจิตอลทีวีไม่ได้หรือไม่ครบถ้วน ควรจะต้องหาสายอากาศใหม่ ขอให้อ่านเพิ่มเติมที่หัวข้อ “ข้อแนะนำการเลือกใช้สายอากาศสำหรับการรับสัญญาณดิจิตอลทีวี”
ข.กรณี ไม่มี สายอากาศแบบภาคพื้นดินติดตั้งใช้งานอยู่เดิม
ต้องหาสายอากาศใหม่ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการรับสัญญาณ ขอให้อ่านเพิ่มเติมที่หัวข้อ “ข้อแนะนำการเลือกใช้สายอากาศสำหรับการรับสัญญาณดิจิตอลทีวี”
3.การติดตั้ง
กรณีเครื่องรับโทรทัศน์แอนะล็อก
ต้องใช้คู่กับกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี (Set-Top-Box) โดยสายสัญญารที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล (Set-Top-Box) กับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์แอนะล็อก มีทั้งสายแบบ AV และสายแบบ HDMI มีข้อแตกต่างกัน คือ สายแบบ AV จะไม่สามารถรับชมช่องรายการที่มีคุณภาพแบบ HD แต่จะถูกลดคุณภาพออกมาเป็นแบบ SD เท่านั้น แต่ถ้าต่อผ่านสายแบบ HDMI จะสามารถรับชมช่องรายการที่มีคุณภาพแบบ HD ได้เต้มประสิทธิภาพ
การต่อสายนำสัญญาณแบบ AV
สำหรับเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นเก่า เช่น โทรทัศน์แบบ CRT (จอตู้) จะมีเพียงช่องรับสัญญาณแบบ AV สามารถรับชมดิจิตอลทีวีได้โดย นำสายนำสัญญาณจากสายอากาศต่อเข้ากับช่อง RF in (ช่องเสียบสัญญาณจากสายอากาศ) ของกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี (Set-Top-Box) และนำสาย AV ต่อเชื่อมระหว่างกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี (Set-Top-Box) และเครื่องรับโทรทัศน์แอนะล็อก
วิธีต่ออุปกรณ์โดยใช้สาย AV (ต่อสาย AV ให้ตรงตามสี)
การต่อสายสัญญาณแบบ HDMI
สำหรับเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่มีช่องรับสัญญาณแบบ HDMI จะสามารถรับชมช่องรายการได้เต็มประสิทธิภาพมากกว่า โดยนำสายนำสัญญาณจากสายอากาศต่อเข้ากับช่อง RF in (ช่องเสียบสัญญาณจากสายอากาศ) ของกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี (Set-Top-Box) และนำสาย HDMI ต่อเชื่อมระหว่างกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี (Set-Top-Box) และเครื่องรับโทรทัศน์แบบแอนะล็อก
วิธีต่ออุปกรณ์โดยใช้สายแบบ HDMI
กรณีเครื่องรับโทรทัศน์ดิจิตอล (iDTV)
สำหรับเครื่องรับโทรทัศน์ดิจิตอล (iDTV) นั้นสามารถรับชมดิจิตอลทีวีได้โดยการต่อสายนำสัญญาณจากสายอากาศต่อเข้ากับ ช่อง RF in (ช่องเสียบสัญญาณจากสายอากาศ) ของเครื่องรับโทรทัศน์ดิจิตอลได้เลย
วิธีต่ออุปกรณ์กับเครื่องรับดิจิตอล (iDTV)
ข้อแนะนำการเลือกใช้สายอากาศสำหรับการรับสัญญาณดิจิตอลทีวี
ภาพข้อแนะนำการเลือกใช้สายอากาศสำหรับรับสัญญาณดิจิตอลทีวี
การแก้ปัญหาในการรับชม
ในเบื้องต้น เราสามารถตรวจสอบ หรือ แก้ไขปัญหาในการรับชมดิจิตอลทีวีได้ ดังนี้
กรณี “รับสัญญาณไม่ได้เลย”
-อยู่ในพื้นที่ให้บริการหรือไม่
-หันสายอากาศไปในทิศทางของที่ตั้งสถานีส่งสัญญาณแล้วหรือยัง
-เลือกใช้สายสัญญาณที่เหมาะสมหรือไม่ ขอให้อ่านเพิ่มเติมที่หัวข้อ ”ข้อแนะนำการเลือกใช้สายอากาศสำหรับการรับสัญญาณดิจิตอลทีวี”
-ติดตั้งสายสัญญาณภาพและเสียง (สาย AV) หรือสาย HDMI ระหว่างกล่อง Set-Top-Box กับเครื่องรับโทรทัศน์ถูกต้องแล้วหรือไม่ (แนะนำให้ลองด้วยสาย AV ก่อน แล้วจึงเปลี่ยนมาใช่สาย HDMI)
-จูน หรือ สแกนช่องรายการแล้วหรือไม่ หรือทำซ้ำอีกครั้งเนื่องจากในแต่ละพื้นที่การออกอากาศดิจิตอลทีวี ใช้ความถี่แตกต่างกัน หรืออาจเริ่มให้บริการไม่พร้อมกัน
-เปิดการจ่ายไฟ (DC 5 โวลต์) จาก Set-Top-Box ในกรณีใช้สายอากาศแบบ Active แล้วหรือไม่
-กรณีใช้ iDTV มีการจ่ายไฟ (DC 5 โวลต์) ให้กับสายอากาศ ในกรณีใช้สายอากาศแบบ active แล้วหรือไม่
-ระบบสายนำสัญญาณจากสายอากาศมาถึง Set-Top-Box หรือ iDTV อาจไม่รับรองความถี่ที่ออกอากาศในระบบดิจิตอล หรือมีการลดทอนสัญญาณในสาย ซึ่งอาจเกิดจากมีการใช้อุปกรณืรวมความถี่(Combiner) อุปกรณืแยกสัญญาณ (Splitter) หรือสายนำสัญญาณเก่า จุดเชื่อมต่อสายไม่แน่นหรือเป็นสนิม ฯลฯ
กรณี “รับสัญญาณได้ บางช่องรายการ”
-จูน หรือ สแกน ช่องรายการแล้วหรือไม่ หรือทำซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากในแต่ละพื้นที่การออกอากาศดิจิตอลทีวี ใช้ความถี่ต่างกัน หรืออาจเริ่มให้บริการไม่พร้อมกัน
-เปิดการจ่ายไฟ (DC 5 โวลต์) จาก Set-Top-Box ในกรณีใช้สายอากาศแบบ Active แล้วหรือไม่
-กรณีใช้ iDTV มีการจ่ายไฟ (DC 5 โวลต์) ให้กับสายอากาศ ในกรณีใช้สายอากาศแบบ active แล้วหรือไม่
-สายอากาศที่ใช้ อาจรองรับความถี่ออกอากาศในระบบดิจิตอลไม่ครบถ้วน ขอให้อ่านเพิ่มเติมที่หัวข้อ หัวข้อ ”ข้อแนะนำการเลือกใช้สายอากาศสำหรับการรับสัญญาณดิจิตอลทีวี”
-ระบบสายนำสัญญาณจากสายอากาศมาถึง Set-Top-Box หรือ iDTV อาจไม่รองรับความถี่ที่ออกอากาศในระบบดิจิตอล หรือมีการลดทอนสัญญาณในสาย ซึ่งอาจเกิดจากมีการใช้อุปกรณืรวมความถี่ (Combiner) อุปกรณ์แยกสัญญาณ (Splitter) หรือสายนำสัญญาณเก่า จุดเชื่อมต่อสายไม่แน่นหรือเป็นสนิม ฯลฯ
เยี่ยมชมสินค้าจากทางร้าน digitaltvcar.com
ติดตามเราบนเฟสบุ๊คได้ที่ https://th-th.facebook.com/tvdigitalcar
