หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการหาที่ตั้งของตำแหน่งเสารับทีวีดิจิตอลไม่ถูกต้อง ลองอ่านบทความนี้กันก่อนเผื่อจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
จำนวนเขตบริการและจำนวนสถานี
กำหนดให้ มีเขตบริการจำนวน 39 เขตบริการ ซึ่งในการแบ่งเขตบริการจะต้องคำนึงถึงข้อจำกัดทางเทคนิคเป็นหลัก รวมทั้งคำนึงถึงระยะห่างจากสถานีหลักตลอดจนลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย โดยแต่ละเขตบริการประกอบไปด้วย 1 สถานีหลัก และสถานีเสริมอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งสิ้นจาก 39 เขตบริการ จะมี 39 สถานีหลัก และ 132 สถานีเสริม โดยในเขตบริการเดียวกันจะมีกลุ่มของช่องรายการเดียวกัน ทั้งนี้ อาจกำหนดสถานีเสริมเป็นการเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อแก้ไขปญหาการรับสัญญาณหรือเพื่อปรับปรุงการรับสัญญาณแบบพกพาภายในอาคาร (Portable Indoor Reception)
ประเภทของสถานี
สถานีหลัก (M) มีจำนวนสถานีอยู่ 39 สถานี ซึ่งเป็นสถานีหลักตามแผนการขยายโครงขายภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลในปีที่ 1 และ 2 โดยเป็นสถานีซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่เดิม และสถานที่ตั้งนี้ ได้รับความเห็นชอบรวมกันระหว่างผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศนสำหรับการให้บริการโครงขายโทรทัศนในระบบดิจิตอลทุกราย
สถานีเสริมกลุม A1 (A1) มีจำนวนสถานีอยู่ 45 สถานี เป็นสถานีซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่เดิม และสถานที่ตั้งนี้ได้รับความเห็นชอบรวมกันระหว่างผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์สำหรับการให้บริการโครงขายโทรทัศนในระบบดิจิตอลทุกราย โดยสถานีเสริมกลุ่ม A1 เป็นการติดตั้งสถานีเสริมเพื่อให้ได้พื้นที่ครอบคลุมร้อยละ 90 ของจำนวนครัวเรือนทั้งประเทศ
สถานีเสริมกลุม A2 (A2) มีจำนวนสถานีอยู่ 38 สถานี เป็นสถานีซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่เดิม และสถานที่ตั้งนี้ได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์สำหรับการให้บริการโครงขายโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลทุกราย
สถานีเสริมกลุม A3 (A3 ) มีจำนวนสถานีอยู่ 49 สถานี เป็นสถานีซึ่งอาจจะไม่มีสถานที่ตั้งอยูเดิม แต่เป็นสถานีอ้างอิงเพื่อการขยายโครงข่ายในอนาคต เพื่อให้ได้พื้นที่ครอบคลุมร้อยละ 95 ของจำนวนครัวเรือนทั้งประเทศ
พื้นที่ครอบคลุมของเขตบริการ
พื้นที่ครอบคลุมของเขตบริการภายหลังการติดตั้ง 39 สถานีหลัก และ 132 สถานีเสริมแล้ว จากผลการวิเคราะหคำนวณโดยอาศัยซอฟต์แวร์ สร้างแบบจำลองการแพรกระจายคลื่น (Wave Propagation Model) โดยอาศัยคุณลักษณะทางเทคนิคของสถานีวิทยุคมนาคมสำหรับกิจการโทรทัศนภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล โดยพื้นที่ครอบคลุมของเขตบริการเป็นดังรูป
พื้นที่ครอบคลุมของเขตบริการภายหลังการติดตั้ง 39 สถานีหลัก และ 132 สถานีเสริม
โดยพื้นที่ครอบคลุมของเขตบริการข้างต้น คิดเป็นประมาณร้อยละ 95.0 – 95.4 ของจำนวนครัวเรือนทั้งประเทศ
ที่ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม
คุณสามารถอ่านประกาศฉบับเต็มได้ที่นี่
อีกหนึ่งวิธีในการตรวจสอบเสาส่ง/พื้นที่ครอบคลุมได้ง่ายๆ จากมือถือ โหลดแอพ DTV service area บน iOS และ Android
หรือบนเว็บไซต์ dtvservicearea.nbtc.go.th