การที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่การพัฒนาการส่งสัญญาณโทรทัศน์แบบจากแบบแอนะล็อก เป็นแบบดิจิตอลนั้น ประเด็นสำคัญของการเปลี่ยนผ่านของระบบส่งโทรทัศน์จากแบบแอนะล็อกสู่ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์แบบดิจิตอล คือ การเลือกใช้มาตรฐานเทคโนโลยีที่ทันสมัยในโลกปัจจุบัน โดยที่ปัจจุบันในโลกมีมาตรฐานของเทคโนโลยีโทรทัศน์แบบหลักๆ ถึง 4 มาตรฐาน โดยแต่ละมาตรฐานต่างมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไปอีก การพิจารณาในการเลือกมาตรฐานเทคโนโลยีการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลของไทยในครั้งนี้ จึงเป็นประเด็นที่ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ทั้งในประเด็นของเชิงประสิทธิภาพทางการใช้งานของเทคโนโลยี ในเชิงของประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ และที่สำคัญที่สุดเลย คือ ความสอดคล้องกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ จากการพิจารณาและคัดเลือกจะทำการโดย กสทช. มาตรฐานกิจการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลของประเทศไทยที่ได้รับการเลือกใช้จาก กสทช. คือ มาตรฐานแบบ DVB-T2 (Second Generation Digital Terrestrial Television Broadcasting System) โดยคัดเลือกจากการพิจารณาในสามประเด็นหลัก ดังนี้
1. ประสิทธิภาพเชิงเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
มาตรฐานของการส่งสัญญาณแบบ DVB-T2 นั้น ได้รับการพัฒนาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมจากทวีปยุโรป มาตรฐานของการส่งสัญญาณแบบ DVB-T2 จะสามารถบริหารการใช้ช่องสัญญาณการส่งสัญญาณโทรทัศน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากเดิมช่องสัญญารความถี่หนึ่งๆ ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์อาจส่งสัญญาณได้ที่ละช่อง หรือ 2 ช่อง แต่มาตรฐานของการส่งสัญญาณแบบ DVB-T2 นั้น สามารถส่งสัญญาณโทรทัศน์ทีละหลายๆ ช่อง สามารถส่งสัญญาณได้ถึง 10-15 ช่อง และคุณภาพก็ดีกว่าด้วย
- ประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์
การเลือกมาตรฐานของการส่งสัญญาณแบบ DVB-T2 นั้น ได้รับเลือกเพราะ เราต้องพิจารณาความเหมาะสมกับสถานะทางเศรษศาตร์ของประชาชนในประเทศ เพราะการเปลี่ยนแปลงการส่งสัญญาณแบบนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งประเทศ ยิ่งใหญ่ การเลือกมาตรฐานของการส่งสัญญาณแบบ DVB-T2 จึงเป็นการเลือกการส่งสัญญาณที่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนด้วยการส่งสัญญาณแบบ DVB-T2 เป็นมาตรฐานที่จำนวนประเทศประกาศรับรองมากที่สุด อาทิ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย และประเทศรัสเซีย เป็นต้น
- ความสอดคล้องกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
การเปลี่ยนผ่านกิจการโทรทัศน์ไปสู่ระบบดิจิตอลเป็น สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยอยู่เสมอ ดังนั้นประเทศต่างๆในภูมิภาคอาเซียนต่างมีความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนผ่านการส่งสัญญารเหล่านี้เช่นกัน และประเทศต่างๆเหล่านั้นต่างก็มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเลือกมาตรฐาน โทรทัศน์เช่นเดียวกับประเทศไทย ดังนั้นรัฐบาลของประเทศต่างๆจึงมีแนวคิดที่ร่วมกันพิจารณาให้ประเทศต่างๆภาย ในภูมิภาคอาเซียนเลือกใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ตามที่กล่าวมาในข้างต้น นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการสนับสนุนการค้าภายในภูมิภาคอีกด้วย ดังนั้นที่ประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศ ในปี 2555 มีความเห็นร่วมกันให้ใช้มาตรฐาน DVB-T2 เป็นมาตรฐานโทรทัศน์ระบบดิจิตอลของภูมิภาคอาเซียน ร่วมกัน มาตรฐานโทรทัศน์ระบบดิจิตอลดังกล่าวได้ถูกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 รับทราบมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในการประชุม ครั้งที่ 16/2555 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2555 เกี่ยวกับการรับรองมาตรฐาน DVB-T2 เป็นมาตรฐานโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดินของไทย