หลังจากที่ประเทศไทยของเราเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ของสัญญาณโทรทัศน์แบบดิจิตอล ตอนนี้ทาง กสท. จึงได้อนุมัติให้ ไทยพีบีเอส อสมท. ช่อง5 และ NBT ได้มีแผนที่จะยุติโครงข่ายโทรทัศน์แบบแอนะล็อกกันแล้ว
ขณะการประชุมของคณะกรรมการ กสท. การประชุมของคณะกรรมการ กสท.นี้จึงได้มีการหยิบวาระในเรื่องการขออนุมัติการยุติการดำเนินการโครงข่ายโทรทัศน์ ระบบแอนาล็อกของสถานีโทรทัศน์ในระบบแอนาล็อก 4 ช่องนี้ คือ ไทยพีบีเอสอสมท.ช่อง5 และNBT ได้นำขึ้นมาพิจารณา ซึ่งผลการพิจารณาก็คือ ทาง กสท. จะทำการอนุมัติแผนข้างต้นทั้งหมด โดยมีรายละเอียดการดำเนินการดังต่อไปนี้ด้านล่าง
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เสนอที่ 6 ระยะ ได้แก่
- 1 > 1 กันยายน 2558 ยุติการให้บริการโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก 2 สถานี
- 2 > 16 มิถุนายน 2559 ยุติการให้บริการโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก 12 สถานี
- 3 > 31 ธันวาคม 2559 ยุติการให้บริการโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก 11 สถานี
- 4 > 16 มิถุนายน 2560 ยุติการให้บริการโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก 13 สถานี
- 5 > 31 ธันวาคม 2560 ยุติการให้บริการโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก 11 สถานี
- 6 > 16 มิถุนายน 2561 ยุติการให้บริการโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก 3 สถานี
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เสนอที่ 2 ระยะ ได้แก่
- 1> 31 ธันวาคม 2560 ยุติการให้บริการโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก 4 สถานี
- 2>16 มิถุนายน 2561 ยุติการให้บริการโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก 37 สถานี
สถานีโทรทัศน์ NBT (ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์) เสนอที่หนึ่งระยะ คือว 31 ธันวาคม 2560 50 สถานี
สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี (อสมท) เสนอที่หนึ่งระยะ คือ 16 กรกฎาคม 2561 36 สถานี
นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการ กสท. ยังได้ลงมติให้สำนักงาน กสทช. ให้ทำการเร่งรัดในการขอติดตามแผนการส่งคลื่นคืนจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และสถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เพื่อให้นำมาใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนดแผนการยุติการรับส่งสัญญาณวิทยุ โทรทัศน์ในระบบแอนาล็อกของประเทศไทย ก่อนที่จะนำไปเปิดประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไปในอนาคต
ตามข่าวที่ได้อ่านมานี้ก็เป็นการดี และยังเป็นสัญญาณที่ดีด้วยเช่นกัน ที่ในประเทศไทยของเราเริ่มให้ความสำคัญและปรับปรุงเทคโนโลยีเหล่านี้ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น และมีความเพียบพร้อมเทียบเคียงสากลโลกได้ เพราะจะเป็นการดีทั้งทางสถานีและผู้รับบริการทางโทรทัศน์อย่างประชาชนอย่างเรา แต่อย่างไรก็จามเรื่องการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ ปรับ ค่อยๆ เปลี่ยนเพราะต้องคำนึงถึงประชาชนที่ต้องรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไปด้วย และระหว่างการปรับเปลี่ยนก็ต้องทำทุกอย่างให้พร้อมทุกอย่างเสียก่อน