กรุณาติดต่อสอบถาม ก่อนเข้ามาใช้บริการ โทร.084-1077436 Line ID : nyu501 ขอขอบคุณครับ >>> Fanpage Facebook Digital TV CAR <<< ขอขอบคุณทุกท่านมา ใช้บริการของเรา

การเลือกเสาอากาศเพื่อรับสัญญาณดิจิตอลทีวี

การเลือกเสาอากาศเพื่อรับสัญญาณดิจิตอลทีวีถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยและอีกหนึ่งความสำคัญที่ต้องใส่ใจมาก เพราะหากเราเลือกใช้สายอากาศเพื่อการรับชมดิจิตอลทีวีได้ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ที่ท่านต้องการติดตั้งนั้น อาจส่งผลให้ไม่สามารถดูดิจิตอลทีวีได้ หรือคุณภาพอาจจะทำได้ไม่เต็มที่

วันนี้จึงมีการเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อให้ท่านได้มีเวลาอ่านและเลือกซึ้อสายอากาศที่เหมาะสมและถูกต้องในการติดตั้งในพื้นที่นั้นๆ แต่อยากมีข้อแนะนำนึดนึง ในส่วนของท่านที่อาจรับชมช่องรายการดิจิตอลทีวีผ่านการรับสัญญาณภาคพื้นดิน แต่มีข้อจำกัดของพื้นที่ในการติดตั้งเสาอากาศหรือการติดตั้งเสาอากาศที่ความสูงมากกว่า 6 เมตร ไม่ได้ ก็ควรที่จะรับชมช่องรายการดิจิตอลทีวีผ่านทางระบบดาวเทียมจะดีกว่า

การเลือกใช้เสาอากาศ

ปัจจุบันประเทศไทยของเราก็กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์แบบแอนะล็อกไปยังการส่งสัญญาณโทรทัศน์แบบดิจิตอล ซึ่งการรับส่งสัญญาณดิจิตอลของเหล่าโทรทัศน์นี้ ทำให้ต้องมีการพัฒนาเสาอากาศโดยมีขนาดที่เล็กลง และสามารถที่จะมีมุมรับสัญญาณดิจิตอลทีวีได้กว้างกว่าเสารับสัญญาณแบบแอนะล็อก

ก่อนอื่นก็มาทำความรู้จักกับ MUX (โครงข่ายการส่งสัญญาณดิจิตอลทีวี) มีอยู่ 5 ชนิด

MUX 1 โดยเป็นของกรมประชาสัมพันธ์ มีช่องความถี่ 26 (514MHz)
MUX 2 โดยเป็นของกองทัพบก มีช่องความถี่ 36 (594MHz)
MUX 3 โดยเป็นของอสมท. ที่ช่องความถี่ 40 (626MHz)
MUX 4 โดยเป็นของไทยพีบีเอส ที่ช่องความถี่ 44 (658MHz)
MUX 5 โดยเป้นของกองทัพบก ที่ช่องความถี่ 52 (722 MHz) แต่หากหยุดออกอากาศอนาล็อก หลังจากนั้นต้องใช้ช่องความถี่ 32 (559MHz)

โดยปรกติเราจะรู้จักเสาอากาศ 2 แบบ คือ

1.เสาหนวดกุ้ง อันนี้สำหรับใช้ติดตั้งภายใน

2.เสาก้างปลา อันนี้สำหรับใช้ติดตั้งภายนอก

แต่หากใครที่ต้องการใช้เสาอากาศเดิมก็สามารถใช้ได้ เพียงแค่ดูว่า เสาอากาศที่เราใช้เดิมนั้น สามารถที่จะรับชม MUX พื้นฐานทั้ง 5 ที่ว่ามาด้านบนได้ ก็เป็นอันว่าไม่ต้องซื้อเสาอากาศใหม่แล้ว ใช้อันเดิมได้เลย

การเลือกใช้เสาอากาศให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่ต้องการติดตั้งโดยดูจากระยะห่างจากจุดกระจายสัญญาณดิจิตอลทีวีมายังแห่งติดตั้งเสาอากาศ

ระยะ0-20 กิโลเมตร ใช้เสาหนวดกุ้งติดตั้งภายในก็เพียงพอแล้ว

ระยะ 20-30 กิโลเมตร ให้เลือกใช้เสาอากาศแบบ Active คือ เสาอากาศที่ต้องใช้ไฟเลี้ยง

ระยะ 30-50 กิโลเมตร ควรเลือกใช้เสาอากาศแบบ 3E

ระยะ 50-60 กิโลเมตร ควรเลือกใช้เสาอากาศแบบ 5E

ระยะ 60-70 กิโลเมตร ควรเลือกใช้เสาอากาศแบบ 9E หรือ 14 E

ระยะไกลกว่า 70 กิโลเมตร ควรเลือใช้เสาอากาศแบบ 14 E ขึ้นไป

จะเห็นได้ว่าการเลือกเสาอากาศเพื่อการรับชมดิจิตอลทีวีก็มีความยุ่งยากอยู่ไม่น้อย ในการเลือกชนิดของเสาอากาศมาใช้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแค่จะมีเรื่องของทิศทางและระยะเท่านั้น แต่อาจมีปัจจัยอื่นที่อาจทำให้การเลือกใช้เสาอากาศเหล่านี้ผิดพลาด เช่น ความสูงในการติดตั้งเสาอากาศ หรือสิ่งกีดขวาง

You can skip to the end and leave a response. Pinging is currently not allowed.

Leave a Reply

*