บทความ Digital TV
บทความ digital tv
ดิจิตอลทีวี คืออะไร ทำไมต้อง ดิจิตอลทีวี
ดิจิตอลทีวี(Digital TV)คืออะไร บทความ digital tv
ดิจิตอลทีวี คือการส่งผ่านของเสียงและวิดีโอโดยใช้ขบวนการและการผสมสัญญาณแบบดิจิตอลซึ่งมีความแตกต่างกับการส่งผ่านสัญญาณแบบอนาล็อก ที่มีการแยกสัญญาณในช่องที่แยกออกจากกัน มันสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ จึงเรียกได้อีกอย่างว่า Multicasting การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย เช่น โทรทัศน์ระบบ HD ที่มีภาพความคมชัดสูง หลายประเทศกำลังเปลี่ยนระบบการส่งสัญญาณจากอนาล็อกมาเป็นดิจิตอลซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่วิทยุในอีกรูปแบบหนึ่ง
DVB-T2 คืออะไร
บทความ DigitalTV DVB-T2 เป็นมาตรฐานการส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอลที่ทันสมัยที่สุด มีประสิทธิภาพในการใช้งานดีที่สุดในขณะนี้ สัญญาณมีความเสถียร และมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน และเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณที่มีประสิทธิภาพสูงเท่าที่มีใช้งาน ในการส่งโทรทัศน์ในคลื่นความถี่ที่ส่งสัญญาณภาพ และเสียง และการบริการส่งข้อมูลที่ใช้สำหรับ เครื่องรับ โทรทัศน์แบบเคลื่อนที่ รถยนต์(Car) หรือโทรศัพท์มือถือ (Mobile) การใช้เทคนิคใหม่นี้ทำให้ DVB-T2 มีประสิทธิภาพดีกว่า ระบบการส่งโทรทัศน์ภาคพื้นดินแบบอื่น ๆ ที่ใช้งานในโลก
ประโยชน์ของการส่งสัญญาณในระบบดิจิตอล
1.ทำให้ใช้ประโยชน์จากช่องสัญญาณได้มากขึ้น เช่น เมื่อก่อน 1 ช่องใช้ได้ 1 รายการ หากใช้ระบบดิจิตอล ก็จะสามารถส่งได้ถึง 4-6 รายการทางภาคพื้นดิน และ 8-10 รายการทางดาวเทียม
- สามารถรับชมขณะอยู่ในพาหนะเคลื่อนที่ได้ เช่น รับชมดิจิตอลทีวีบนรถยนต์ได้อย่างชัดเจน
- สามารถให้บริการฟรี หรือบริการเก็บค่าสมาชิกได้
- ค่าใช้จ่ายในการออกอากาศต่อ 1 รายการลดลง เพราะเครื่องส่ง 1 เครื่อง สามารถส่งได้หลายรายการ
- พัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ เพื่อรับกับระบบโทรทัศน์รุ่นใหม่ๆในอนาคตได้ เช่น โทรทัศน์ WIDE SCREEN โทรทัศน์ความคมชัดสูง HDTV
- ประหยัดพลังงานในการส่งโทรทัศน์ เนื่องจากเครื่องส่งใช้กำลังออกอากาศลดลง
- คุณภาพในการรับชมดีขึ้น ไม่มีเงา มีสัญญาณรบกวนน้อย หรือถ้ามีการรบกวนก็จะมีในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมาก
การรับสัญญาณระบบดิจิตอลทีวี
การรับสัญญาณในระบบดิจิตอล ถ้าใช้เครื่องบธรรมดาแบบอนาล็อกนั้นเพียงแต่ ติดตั้งกล่อง SET TOP BOX เพิ่มเพื่อแปลงสัญญาณดิจิตอลให้เป็นอนาล็อกก่อนที่รับสัญญาณจากสาย อากาศและถ้ามีการบีบอัดสัญญาณด้วย ก็จะต้องมีเครื่องขยายสัญญาณจากสายอากาศและถ้ามีการบีบอัดสัญญาณด้วย หรือเครื่องรุ่นใหม่ๆที่มีการออกแบบให้สามารถรองรับสัญญาณดิจิตอลได้เลยก็เริ่มมีให้เห็นกันอยู่ก็มีด้วยเช่นกันซึ่ง รุ่นแบบนี้เพียงแต่หาเสาอากาศเพื่อรับสัญญาณดิจิตอลทีวีซึ่งจะสามารถรับชมได้เลย
ดิจิตอลทีวีในประเทศไทย
(Digital TV Thailand)
ในประเทศไทยจะใช้มาตรฐาน DVB เป็นหลักในการออกอากาศระบบดิจิตอล ส่วนภาคพื้นดินนั้นเดิมทีจะใช้ระบบ DVB-T ซึ่งเคยมีการทดสอบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2543 ถึงพฤษภาคม 2544 จากตึกใบหยก 2 แต่ความล้าช้าของการออกกฎหมายกสช ผ่านมา 10 ปี เทคโนโลยี DVB พัฒนาดีขึ้น ประเทศไทย และสมาชิกอาเซียนจึงมีการตกลงจะใช้ระบบ DVB-T2 ประเทศไทยต้องรอการอนุญาตจากกสทช.ก่อน ซึ่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 จะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เพื่อเริ่มนำร่องโครงการทดลองดิจิตอลทีวี ภาคพื้นดิน และในรูปแบบโทรศัพท์ที่สามารถดูโทรทัศน์ได้ เป็นลำดับแรกในเดือนมิถุนายน 2555 การทดลองดิจิทัลทีวี DVB-T2 เคยทดลองมาแล้วโดยช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2554 และจะยุติระบบอะนาล็อกในปี พ.ศ. 2558 – พ.ศ. 2563
บทความ Digital TV ปัจจุบัน อยู่ระหว่างทดลองออกอากาศอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556 โดยใช้ย่านความถี่ UHF จำนวน 2 ช่องความถี่คือ 594 เมกะเฮิร์ตซ์ (ช่อง 36) และ 626 เมกะเฮิร์ตซ์ (ช่อง 40)
โดยในปี 2561 สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีในระบบอนาล็อกจะยุติการออกอากาศพร้อมกัน 4 สถานี คือช่อง 5, ช่อง 7, ช่อง 9 และช่อง 11 แลกกับการได้ใบอนุญาตโครงข่ายอายุ 15 ปี โดยก่อนหน้านั้น ไทยพีบีเอส จะยุติการออกอากาศในระบบอนาล็อกในปี 2559 สำหรับช่อง 3 นั้นยังเหลืออายุสัมปทานออกอากาศแบบอนาล็อกไปจนถึงปี 2562
จำนวนและประเภทของช่องดิจิตอลทีวี (Digital TV)
กสทช. กำหนดจำนวนและรูปแบบ ช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล เบื้องต้นไว้ทั้งสิ้น 48 ช่อง ได้แก่
ช่องประเภทบริการสาธารณะและชุมชน จำนวน 24 ช่อง ได้แก่
- ประเภทรายการบริการสาธารณะ จำนวน 12 ช่อง (ระดับประเทศ)
- ประเภทรายการบริการชุมชน จำนวน 12 ช่อง (แบ่งตามเขตการให้บริการ)
ช่องประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ
บทความDigitalTV จำนวน 24 ช่อง ได้แก่
- ประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวน 3 ช่อง
- ประเภทรายการข่าวสาร และสาระ จำนวน 7 ช่อง
- ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ (SD) จำนวน 7 ช่อง
- ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง (HD) จำนวน 7 ช่อง
รายชื่อช่องระบบดิจิตอลทีวีและหมายเลขที่ใช้ออกอากาศ
ประเภทช่องบริการสาธารณะ
- ช่อง 1 – ททบ. 5
- ช่อง 2 – NBT HD
- ช่อง 3 – ThaiPBS HD
- ช่อง 4 – เด็กเยาวชนและครอบครัว
- ช่อง 5 – การศึกษา-ความรู้
- ช่อง 6 – ศาสนา-ศิลปะ-วัฒนธรรม
- ช่อง 7 – สุขภาพ-กีฬา-คุณภาพชีวิต
- ช่อง 8 – ความั่นคงของรัฐ
- ช่อง 9 – ความปลอดภัยของสาธารณะ
- ช่อง 10 – ความเข้าใจระหว่างรัฐบาล, รัฐสภากับประชาชน
- ช่อง 11 – ส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตย
- ช่อง 12 – เด็ก-คนด้อยโอกาส
ประเภทช่องรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว
- ช่อง 13 – BEC (ช่อง 3 Family)
- ช่อง 14 – MCOT Family
- ช่อง 15 – LOCA
ประเภทช่องรายการข่าวสาร และสาระ
- ช่อง 16 – TNN 24
- ช่อง 17 – Thai TV
- ช่อง 18 – New TV
- ช่อง 19 – SpringNews
- ช่อง 20 – Bright TV
- ช่อง 21 – Voice TV
- ช่อง 22 – Nation
ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ ( SD )
- ช่อง 23 – Workpoint
- ช่อง 24 – True4U
- ช่อง 25 – GMM
- ช่อง 26 – Now
- ช่อง 27 – Channel 8
- ช่อง 28 – BEC (ช่อง 3 SD)
- ช่อง 29 – MONO
ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง ( HD )
- ช่อง 30 – MCOT HD
- ช่อง 31 – One HD
- ช่อง 32 – ไทยรัฐ (Thairath TV)
- ช่อง 33 – BEC (ช่อง 3 HD)
- ช่อง 34 – Amarin TV
- ช่อง 35 – ช่อง 7 HD
- ช่อง 36 – PPTV
ประเภทบริการชุมชน
- ช่อง 37-48 ยังไม่ให้ใบอนุญาตบริการ
คลิปทดสอบบนรถยนต์ https://www.youtube.com/watch?v=jAIsOSRGdWU